Noun


         Noun  (
คำนาม )  คือคำที่ใช้เรียกชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของและสถานที่  
แบ่งออกได้  5  ชนิดคือ

1.  Common Noun    ( สามานยนามหมายถึง นามที่เป็นชื่อไม่ชี้เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่  เช่น  
school (โรงเรียน),  university (มหาวิทยาลัย), table (โต๊ะ),  mango (มะม่วง),  orange (ส้ม), student (นักเรียน) , mother (แม่), elephant (ช้าง), teacher (ครู), province (จังหวัด), language (ภาษา)

2.  Proper  Noun    ( วิสามานยนาม )  หมายถึง นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่  หรืออาจเรียกว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานกันนั่นเอง และจะต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอ เช่น
Jane (เจน), Joe (โจ), Linda (ลินดา),  Sisaket Province (จังหวัดศรีสะเกษ), Ramkhamhaeng University( มหาวิทยาลัยรามคำแหง)     
            
3. Collective Noun  ( สมุหนาม )  ได้แก่นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ,  กลุ่มฝูงเป็นต้น  ส่วนมากมัก จะเป็นคำผสมที่คั่นด้วย of เสมอ และสมุหนามนี้ ต้องถือว่าเป็นนามพหูพจน์ตลอดไป  ดังนั้นกิริยาจึงต้องใช้ให้เป็นพหูพจน์ด้วย เช่น
 a group of students (นักเรียนกลุ่มหนึ่ง)
 a pair of shoes (รองเท้าหนึ่งคู่)
 a dozen of eggs (ไข่หนึ่งโหล)
 a flock of sheep (แกะฝูงหนึ่ง)                       
หมายเหตุ:  สมุหนามบางคำอาจเป็นคำคำเดียวก็ได้  ไม่จำเป็นต้องมี of คั่นเสมอไป  และถ้าสมุหนามนี้ มาทำหน้าที่เป็นประธานแล้วหมายถึงหน่วยเดียว ก็ใช้กิริยาเป็นเอกพจน์  แต่ถ้าหมายถึงแยกเป็นแต่ละบุคคลที่มีอยู่หลายคน ถือว่าสมุหนามนั้นเป็นพหูพจน์  ต้องใช้กิริยาให้เป็นพหูพจน์ด้วย เช่น

faculty (คณาจารย์)                           government (คณะรัฐบาล)
elderly (ผู้อาวุโส)                              team (ทีมคณะชุด)
jury(คณะลูกขุน)                                staff (คณะบุคคล)
committee (คณะกรรมการ)                 cabinet (คณะรัฐมนตรี)          

4.  Material Noun  (วัตถุนาม)  หมายถึง นามที่เป็นชื่อของเนื้อวัตถุ   ซึ่งส่วนมากก็ได้แก่นามที่เป็นของเหลวแร่ธาตุ,โลหะ  เช่น
gold (ทอง), silver (เงิน), salt (เกลือ), sand (ทราย), soil (ดิน), ice (น้ำแข็ง),  air (อากาศ), meat (เนื้อ)   เป็นต้น
หมายเหตุนามบางชนิดเมื่อยังไม่แยกก็จัดเป็น  Common Noun   แต่เมื่อแยกแล้วจะกลายเป็น   Material Noun   เช่น  

cow,  ox (วัว)         หากแยกกลายเป็น           beef   (เนื้อวัว) 
pig (หมู)                  หากแยกกลายเป็น          pork   (เนื้อหมู)  
tree (ต้นไม้)             หากแยกกลายเป็น          wood  ( ไม้แปรรูป)
                              
5.  Abstract  Noun   (อาการนาม)  หมายถึง นามที่เป็นชื่อของลักษณะสภาวะ,  และการกระทำ  นามจำพวกนี้ไม่มีตัวตน   เป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้น มีสำเนียงแปลว่า การ หรือ ความ  ขึ้นต้น เช่น 
goodness (ความดี), happiness  (ความสุข),  beauty (ความสวย), 
 knowledge (ความรู้, friendship (มิตรภาพ), drinking (การดื่ม),
 eating (การกิน) , wisdom (ความฉลาด                                                                

หน้าที่ของนาม

               คำนาม เมื่อนำมาแต่งเป็นประโยค จะทำหน้าที่ได้  7  อย่างคือ

1.    เป็น “Subject” (ประธาน)  ของกิริยาในประโยคหรือเรียกว่าผู้กระทำกริยา
ตัวอย่างเช่น
Jane is a good girl.
My sister likes reading books.
I have two cars.

2.    เป็น “Object”  (กรรม)  ของกิริยาในประโยค หรือเรียกว่า “ผู้ถูกกระทำ
ตัวอย่างเช่น
I am eating an apple.
Nan likes chocolate very much.
Sam clean his car once a week.

3.    เป็น “Object”  (กรรม)  ของ   Preposition  (บุรพบท เช่น in, on, at, under...
ตัวอย่างเช่น
There are five birds in the tree.
My friend is from England.
Your basket is on the table.

4.    เป็น “Complement”  คือส่วนสมบูรณ์ของกิริยา (ส่วนมากมักใช้วางตามหลัง verb to be และ become )
ตัวอย่างเช่น
My favourite subject is English.
I would like to be a nurse in the future.
Sam becomes a singer.

5.    เป็น  “Appositive”  คือ เป็นนามซ้อนนามตัวที่อยู่ข้างหน้า ระหว่างคำนามทั้งสองตัวที่ซ้อนกัน ต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย Comma (,) ทุกครั้ง  
ตัวอย่างเช่น
Gil, my English teacher, is very handsome.
Tata, a famouse singer, is very beautiful.

6.    เป็น “Address”  คือ เป็นนามเรียกขานได้ ต้องใส่ Comma (,) คั่นด้วยทุกครั้ง
ตัวอย่างเช่น
Teacher, speak  more slowly please.
John, come this way please.

7.    เป็น  “Possessive”  คือ เป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของ  และต้องใส่ Apostrophe’s ด้วยทุกครั้ง
ตัวอย่างเช่น
This is Jane’s  new car.
Those are Joe’s  friends.
Sam’s house is next to school.
เพศของนาม



                   นามในภาษาสามารถแบ่งเพศได้ 4  เพศ  คือ

                1.   Masculine    Gender   (เพศชาย)    เช่น  man,  boy,  ox,  cock….etc.
                2.  Feminine     Gender    (เพศหญิง  เช่น  lady,  woman, girl, hen…etc.
                3.   Common    Gender     (เพศรวม)  เช่น teacher,  student,…etc.
                4.   Nature     Gender      (ไม่มีเพศ)  เช่น   book,  pen, table…etc.

หลักการเปลี่ยนเพศชายเป็นเพศหญิงมีหลักเกณฑ์  4  อย่าง ดังนี้

1.    โดยการเปลี่ยนคำทั้งคำจากเพศชายเป็นเพศหญิง เช่น 
                Boy   เป็น   Girl  
                Father    เป็น  Mother  เป็นต้น

2.    โดยการเติมอาคม   ess   ที่ท้ายคำเพศชาย  เช่น 
                Prince  เป็น   Princess  เป็นต้น

3.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหน้านาม  จะกลายเป็นเพศหญิง  เช่น  
                Boy-friend  เป็น  girl-friend  เป็นต้น   
  
4.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหลังนามจะกลายเป็นเพศหญิง เช่น 


                Grand-father เป็น  Grand-mother  เป็นต้น.












No comments :