Verb to do

Verb to do
ในภาษาอังกฤษ ได้แก่
do, does, did
ซึ่งแยกตามกริยา 3 ช่อง ได้ดังนี้

ช่องที่  ได้แก่   do, does

ช่องที่  ได้แก่   did

ช่องที่ 3  ได้แก่   did
หลักการใช้ Verb to do
ต้องใช้ให้ถูกต้องตามพจน์ หรือประธาน ( Subject)  และกาล (Tense)

Subject
(ประธาน)

Present
(กาลปัจจุบัน)

Past
(อดีต)


I







do













did

You


We


They


Plural


He






does

She


It


Singular

*** Plural หมายถึง พหูพจน์ หรือมากกว่าหนึ่ง เช่น
       Jane and Joe, policemen, pencils, bananas, Thai people, these          
       books, those students เป็นต้น

*** Singular หมายถึง เอกพจน์ หรือ หนึ่ง เช่น
       Jane, my friend, an apple, a cat, your sister, a car, my house,  
       this pen, that man เป็นต้น

หน้าที่ของ Verb to  do
1. เป็น “ กริยาสำคัญ” หรือกริยาแท้ในประโยคจะมีความหมายว่า  “ทำ

ตัวอย่างเช่น

do the housework everyday. ฉันทำงานบ้านทุกวัน

Sam normally does his homework in the evening. โดยปกติแซมทำการบ้านในตอนเย็น

2. เป็น “กริยาช่วย” ในประโยค โดยช่วยทำประโยคบอกเล่าที่มีคำกริยาแท้
ให้เป็นประโยค   “คำถาม” และ “ปฏิเสธ”  ซึ่งเมื่อนำ Verb to do มาช่วยในประโยค กริยาแท้ที่ถูกกล่าวถึง ต้องเป็นกริยาช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ

ตัวอย่างเช่น

ประโยคบอกเล่า : I like reading books.

ประโยคปฏเสธ  :  I do not like reading books.

ประโยคคำถาม  :  Do you like reading books?

การใช้  Verb  to  do  ในประโยคปฏิเสธ
มีหลักการดังนี้
            1.  Verb to  do  เป็นเพียงกริยาช่วย  ( Helping  Verb )  ไม่ใช่กริยาแท้ ใช้เปลี่ยนประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธ ซึ่งหมายถึง Verb to do + not  

            2.  กริยาแท้ของประโยคต้องเป็น “กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ”  ซึ่งหมายถึง ในประโยคบอกเล่า คำกริยาแท้จะถูกผันตามประธาน (Subject) และกาล (Tense) แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่นำ Verb to do ( do, does, did) มาเปลี่ยนประโยคบอกเล่าเหล่านั้นให้เป็นประโยคปฏิเสธ เราจะใช้ verb to do ผันตามประธานและกาลแทน และคำกริยาเดิมในประโยคบอกเล่า ไม่ว่าจะอยู่ในกาลที่เป็นปัจจุบัน หรืออดีต หรือรูปใดก็ตาม ต้องเปลี่ยนเป็น “กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ” 

สูตร   การใช้ Verb to do ในรูปประโยคปฏิเสธ
              

Subject + Verb to do  +  not + กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน


Verb to do ในประโยคปฏิเสธ

รูปเต็ม
รูปย่อ

I do not ...

I don’t  ...
  
  You do not ...
  
   You don’t ...

We do not ...

  We don’t ...
   
  They do not ...
  
    They don’t ...

  He does not ...

He doesn’t ...

   She does not ...

  She doesn’t ...
         
It does not ...

It doesn’t ...


ตัวอย่างเช่น

Present (ปัจจุบันกาล)
ตัวอย่างที่ 1  ประธานเป็นเอกพจน์

ประโยคบอกเล่า  I like reading books.

ประโยคปฏเสธ    I do not like reading books.

ตัวอย่างที่ 2   ประธานเป็นพหูพจน์

ประโยคบอกเล่า  Jane likes reading books.

ประโยคปฏเสธ    Jane does not like reading books.

Past (อดีต)
ตัวอย่างที่ 1 ประธานเป็นเอกพจน์

ประโยคบอกเล่า : Jane liked reading books when she was a student.

ประโยคปฏเสธ  : Jane did not like reading books when she was a student.

ตัวอย่างที่ 2 ประธานเป็นพหูพจน์

ประโยคบอกเล่า : Jane and Joe worked hard yesterday.

ประโยคปฏเสธ  : Jane and Joe did not work hard yesterday.

*** ตามตัวอย่างข้างต้น กริยาแท้คือ like (ชอบและ work (ทำงานเมื่อทำเป็นประโยคบอกปฏิเสธ สามารถทำได้โดย นำ Verb to do + not  มาช่วย โดยใช้ให้ถูกต้องตามประธานและกาล และสังเกตได้ว่า กริยาแท้ ต้องเป็นช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ

Verb  to  do  ในประโยคคำถาม

1. การใช้ Verb to do ในประโยคคำถามที่เรียกว่า “Yes / No  Questions”

        ประโยคคำถาม “Yes / No  Questions” หมายถึง ประโยคที่ถามเพื่อต้องการคำตอบที่เป็น Yes หรือ No
        ในกรณีนี้หากแปลเป็นคำถามในภาษาไทยก็คือ ...ใหม หรือ ... ใช่ใหม นั่นเอง
        การใช้ Verb to do ในประโยคคำถาม “Yes / No  Questions” มีหลักการใช้เหมือนกันกับการใช้ Verb to do ในประโยคปฏิเสธ แต่ต่างกันที่ตำแหน่งที่วางในประโยค ดังนี้

            1.1  Verb to  do  เป็นเพียง "กริยาช่วย " ( Helping  Verb )  ไม่ใช่กริยาแท้ ใช้เปลี่ยนประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม โดยใช้  Verb  to do  วางหน้าประโยค ตามด้วยประธานของประโยคและกริยาแท้ของประโยคตามลำดับ

            1.2. กริยาแท้ของประโยคต้องเป็น “กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ”  ซึ่งหมายถึง ในประโยคบอกเล่า คำกริยาแท้จะถูกผันตามประธาน (Subject) และกาล (Tense) แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่นำ Verb to do ( do, does, did) มาเปลี่ยนประโยคบอกเล่าเหล่านั้นให้เป็นประโยคคำถาม เราจะใช้ verb to do ผันตามประธานและกาลแทน และคำกริยาเดิมในประโยคบอกเล่า ไม่ว่าจะอยู่ในกาลที่เป็นปัจจุบัน หรืออดีต หรือรูปใดก็ตาม ต้องเปลี่ยนเป็น “กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ”  ตามสูตรดังนี้ี้


Verb to do  + Subject + กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน



ตัวอย่างเช่น

Present (ปัจจุบันกาล)
ตัวอย่างที่ 1  ประธานเป็นเอกพจน์

ประโยคบอกเล่า :  Jane likes reading books.

ประโยคคำถาม :   Doed Jane like reading books?

ตัวอย่างที่ 2   ประธานเป็นพหูพจน์

ประโยคบอกเล่า : They like reading books.

ประโยคปฏเสธ  :  Do they like reading books?

Past (อดีต)
ตัวอย่างที่ 1 ประธานเป็นเอกพจน์

ประโยคบอกเล่า : Jane liked reading books when she was a student.

ประโยคปฏเสธ :  Did Jane like reading books when she was a student?

ตัวอย่างที่ 2 ประธานเป็นพหูพจน์
ประโยคบอกเล่า : Jane and Joe worked hard yesterday.

ประโยคปฏเสธ :   Did Jane and Joe work hard yesterday?

*** ตามตัวอย่างข้างต้น กริยาแท้คือ like (ชอบและ work (ทำงาน)  เมื่อทำเป็นประโยคบอกปฏิเสธ สามารถทำได้โดย นำ Verb to do + not  มาช่วย โดยใช้ให้ถูกต้องตามประธานและกาล และสังเกตได้ว่า กริยาแท้ ต้องเป็นช่องที่ 1 ไม่ผันเสมอ

            
 2.  การใช้ Verb to do ในประโยคคำถามที่เรียกว่า “Wh. Questions”

Questions”  หมายถึง  ประโยคคำถามที่ขึ้นขึ้นต้นประโยคด้วย Wh. ตัวอย่างเช่น
What (อะไร), When (เมื่อไหร่), Where (ที่ไหน) , Why (ทำไม), Who (ใคร), How (อย่างไร)   เป็นต้น
ในกรณีนี้ให้วาง Wh. Questions ต้นประโยค แล้วใช้  Verb  to  do  วางข้างหลัง Wh. Questions แล้วตามด้วยประธานของประโยค ตามลำดับ ตามสูตรดังนี้


Wh.+Verb to do + Subject + V1.....


ตัวอย่างเช่น

What do you do for a living? อาชีพของคุณคืออะไร

When does your school finish? โรงเรียนของคุณเลิกกี่โมง

Where did you go yesterday? เมื่อวานคุณไปไหน

Why does Jane cry? ทำไมเจนถึงร้องไห้ล่ะ

Who did you talk to yesterday? เมื่อวานคุณคุยกับใคร

How do you get to school? คุณไปโรงเรียนอย่างไร   เป็นต้น






No comments :